วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การระดมความคิดทางสมอง 4 หัวข้อดังนี้

1. นวัตกรรมการศึกษา
1.1 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า
“นว” หมายถึง ใหม่
“กรรม” หมายถึง การกระทำ
เมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน เป็น นวตกรรม หรือนวกรรม จึงหมายถึงการกระทำ ใหม่ ๆ
โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
1.2 ประเภทของนวัตกรรม
1. เทคนิคและวิธีการ เป็นกลวิธีหรือกิจกรรมหรือวิธีสอน ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. สิ่งประดิษฐ์ เป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ที่นำไปใช้ในการเรียนการสอน เช่น บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน เป็นต้น
1.3 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม
มี 3 ขั้นตอน คือ
1. มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่(invention)
2. มีการพัฒนาปรับปรุงโดยผ่านกระบวนการทดลองวิจัย(devellopment)
3. มีการนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริงแต่ยังไม่แพร่หลาย(innovation)
1.4 การยอมรับและปฏิเสธนวัตกรรม
การยอมรับนวัตกรรม
1. ขั้นตื่นตัวหรือรับทราบ (awareness) เป็นขั้นแรกที่บุคคลรับรู้ว่ามีความคิดใหม่ สิ่งใหม่หรือวิธีปฏิบัติใหม่ๆ เกิดขึ้นแล้วนวัตกรรมมีอยู่จริง แต่ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดของสิ่งนั้นอยู่
2. ขั้นสนใจ (interest) เป็นขั้นที่บุคคลจะรู้สึกสนใจในนวัตกรรมนั้นทันทีที่เขาเห็นว่าตรงกับปัญหาที่เขาประสบอยู่ หรือตรงกับความสนใจ และจะเริ่มหาข้อเท็จจริงและข่าวสารมากขึ้น โดยอาจสอบถามจากเพื่อนซึ่งได้เคยทดลองทำมาแล้ว หรือเสาะหาความรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้นเพื่อสนองตอบความอยากรู้ของตนเอง
3. ขั้นประเมินผล (evaluation) ในขั้นตอนนี้บุคคลจะพิจารณาว่า นวัตกรรมนั้นจะมีความเหมาะสมกับเขาหรือไม่ จะให้ผลคุ้มค่าเพียงใด หลังจากที่ได้ศึกษานวัตกรรมนั้นมาระยะหนึ่งแล้ว นวัตกรรมนั้นมีความยากและข้อจำกัดสำหรับเขาเพียงใด และจะปรับให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างไร แล้วจึงตัดสินใจว่าจะทดลองใช้ความคิดใหม่ๆ นั้นหรือไม่
4. ขั้นทดลอง (trial) เป็นขั้นตอนที่บุคคลได้ผ่านการไตร่ตรองมาแล้วและตัดสินใจที่จะทดลองปฏิบัติตามความคิดใหม่ๆ ซึ่งอาจทดลองเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด การทดลองปฏิบัตินี้เป็นเพียงการยอมรับนวัตกรรมชั่วคราว เพื่อดูผลว่าควรจะตัดสินใจยอมรับโดยถาวรหรือไม่
5. ขั้นยอมรับปฏิบัติ (adoption) ถ้าการทดลองของบุคคลได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ก็จะยอมรับความคิดใหม่ๆ อย่างเต็มที่และขยายการปฏิบัติออกไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งนวัตกรรมนั้นกลายเป็นวิธีการที่เขายึดถือปฏิบัติโดยถาวรต่อไป ซึ่งถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวร
การปฏิเสธนวัตกรรม
1. ความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ ที่ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้นๆ บุคคลผู้นั้นก็มักที่จะยืนยันในการใช้วิธีการนั้นๆ ต่อไปโดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง
2. ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม แม้บุคคลผู้นั้นจะทราบข่าวสารของนวัตกรรมนั้นๆ ในแง่ของประสิทธิภาพว่าสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีก็ตาม การที่ตนเองมิได้เป็นผู้ทดลองใช้นวัตกรรมนั้นๆ ก็ย่อมทำให้ไม่แน่ใจว่านวัตกรรมนั้นๆ มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่
3. ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเป็นสิ่งที่โดยมากแล้วบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ
4. ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ โดยทั่วไปแล้วนวัตกรรมมักจะต้องนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ดังนั้นค่าใช้จ่ายของนวัตกรรมจึงดูว่ามีราคาแพง
1.5 การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา
Asynchronous Learning คือการนำความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การสื่อสาร และความสามารถของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้แก่ ระบบโทรทัศน์ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป (Software) ต่าง ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการศึกษา
1. แหล่งข้อมูลระยะไกล (Remote Resource) ที่ต้องใช้เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
2. การเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Learning)
3.การเรียนแบบร่วมมือกัน (Collabrative Learning) เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือกัน ซึ่งการเรียนแบบนี้คือ นักเรียนร่วมกันทำงานในกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายหลักร่วมกัน
4. การเรียนการสอน ที่ไม่จำเป็นต้องเรียนตามตารางสอน (Teaching and Learning in Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนแบบ Asynchronous ซึ่งผู้สอน และผู้เรียนมีบทบาท
การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง วิธีการเรียนการสอนในรูปแบบของไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) ที่ผู้เรียนได้ใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เป็นสื่อในการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ (Khan H. Badrul. 1997 : 6)

2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.1 ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
2.2 ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
1. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้น
3. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่ สื่อท้องถิ่น สื่อกิจกรรม
4. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น


2.3 ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษา
ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นี้ผู้เรียนทุกๆ คน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันให้ก่อประโยชน์สูงสุด
2.4 การนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและปฏิบัติได้อย่างมีความสุข

3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
3.1 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
- หน่วยรับข้อมูล เช่น หน่วยบันทึก แผงแป้นอักขระ
- หน่วยความจำ เช่น ชิป (Chip) หรือหน่วยความจำสำรอง เช่น จานบันทึก
- หน่วยแสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์และจอภาพ
2 ซอฟต์แวร์ (Software) คือ ชุดคำสั่งที่สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย ชุดคำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่อง หรือเป็นชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นโดยโปรแกรมเมอร์เพื่อให้สามารถทำงานเฉพาะอย่างได้ เช่น งานบัญชี งานพิมพ์เอกสาร งานวาดภาพ เป็นต้น
3 ส่วนบุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
- ระดับบริหาร (Administration)
- ระดับวิชาการ (Technical)
- ระดับปฏิบัติการ (Data Processing)
3.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer - Assisted Instruction) หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่าง ๆ นำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน
3.4 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. โปรแกรมเพื่อการฝึกหัดและปฏิบัติ (Drill and Practica)
2. โปรแกรมเพื่อการสอน (Tutorial)
3. โปรแกรมจำลองสถานการณ์ (Simulation)
4. เกมทางการศึกษา (Educational Games)
5. โปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา (Problem Solving)
3.5 ข้อดี ข้อจำกัด
ข้อดี
1. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนช้าหรือเร็วได้ตามระดับความสามารถของตนเอง
2. ไม่จำกัดสถานที่เรียน
3. สามารถเรียนจากสื่อประสม
4. การทราบผลการเรียนทันที
ข้อจำกัด
1. ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ
2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
3. ครุภัณฑ์มีราคาสูง
3.6 การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2. ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3. ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4. เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
5. เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน
6. เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน
7. สร้างมาตรฐานการสอน
3.7 การใช้และการประเมินผล
คอมพิวเตอร์มีบทบาทต่อชีวิตประชาชนโดยทั่วไป ดังนั้นนักศึกษาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Information Technology หรือ IT
สารสนเทศมีคุณลักษณะที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ

1. เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว
2. เป็นรูปแบบที่มีประโยชน์ นำไปใช้งานได้
3. มีคุณค่าสำหรับใช้ในการดำเนินงานและการตัดสินใจ

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
4.2 ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการเรียนการสอน
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
- คอมพิวเตอร์นำเสนอ
- เว็บล็อค
- การสอนทางโทรศัพท์
- ห้องสมุดอิเล็คทรอนิกส์
4.3 ข้อดี-ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อดี
1. การเรียนการสอนที่กว้างขวาง
2. เรียนรู้นอกสถานที่เรียนได้
3. สะดวกในการเรียนการสอน
ข้อจำกัด
1. ค่าใช้จ่ายสูง
2. บุคลากรเชี่ยวชาญ
4.4 แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา
การเรียนผ่านด้วยระบบดาวเทียมหรือที่เรียกว่าการศึกษาทางไกล
4.5 การประเมินผลการใช้งาน
ประเมินจากการปฏิบัติ แบบทดสอบและแบบสอบถาม เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การเรียนรู้ก่อนการปฏิบัติกิจกรรม (Before Action Review : BAR)
















































































แบบประเมินตนเอง
"เป้าหมายเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษา"
ปัจจัย/องค์ประกอบระดับความรู้และทักษะ
54321
ด้านความรู้
1. ครูควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากน้อย เพียงไร
/
2. ครูมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะ คุณสมบัติเฉพาะและการดูแลรักษาการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาดังต่อไปนี้มากน้อยเพียงไร
2.1 เครื่องฉายข้ามศีรษะ
/
2.2 เครื่องเสียง/
2.3 เครื่องคอมพิวเตอร์/
2.4 วิทยุโทรทัศน์/
2.5 เครื่องฉายภาพทึบแสง/
2.6 เครื่องฉายสไลด์/
2.7 เทปบันทึกเสียง/
2.8 เครื่องขยายเสียง/
2.9 ลำโพง/
2.10 ไมโครโฟน/
2.11 เครื่องเล่นแผ่นเสียง CD , DVD/
ด้านทักษะ
1. ครูควรมีทักษะเกี่ยวกับมัลติมีเดียมากน้อยเพียงไร
/
2. ครูควรมีทักษะเกี่ยวกับการใช้สื่อการนำเสนอมากน้อยเพียงไร/
3. ครูควรมีทักษะในการใช้ห้องปฏิบัติการมากน้อยเพียงไร/
4. ครูควรมีทักษะเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น/

หมายเหตุ ระดับ 1 หมายถึง รู้จักเครื่องมือ
ระดับ 2 หมายถึง ใช้งานได้แต่ไม่สามารถถ่ายทอดได้
ระดับ 3 หมายถึง สามารถซ่อมแซมได้
ระดับ 4 หมายถึง สามารถถ่ายทอดได้
ระดับ 5 หมายถึง ใช้งานได้ชำนาญและซ่อมแซมได้

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประเด็นการอภิปราย "สื่อมวลชนกับการศึกษา"

บทนำ ปัจจุบันชีวิตของมนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลเหนือจิตใจของประชาชน ซึ่งถูกกำหนดและชักจูงให้เกิดความรู้สึกหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว สื่อมวลชนเองก็จะต้องตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องกระทำและมองดูบทบาทของตนที่จะมีส่วนในการจรรโลงสังคมให้ดีขึ้น และปรับบทบาทของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และช่วยเป็นกระจกสะท้อนภาพปัญหาและทางแก้ไขปัญหาให้สังคมด้วย
สื่อมวลชน หมายถึงอะไร สื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน(Mass Media Function) หมายถึง การกระทำของสื่อมวลชนที่ได้ส่งผล กำลังส่งผลหรือที่จะส่งผลต่อชีวิตและสังคมนั่นเอง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นไปตามธรรมชาติของการสื่อสารมวลชนหรือเป็นไปตามจารีตประเพณีหรือศีลธรรมจรรยาของสังคม ตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้สำหรับอาชีพหรือวิชาชีพสื่อมวลชนนั้นๆ บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางด้านสังคมโดยรวมและบุคคลทั้งทางลบและทางบวก ยกตัวอย่างเช่น สื่อมวลชนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจและการอุตสาหกรรมอย่างขาดไม่ได้ ช่วยสร้างงานให้กับคนงานจำนวนหลายล้านคน ในวงการสื่อเองก็เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งมีการลงทุนจำนวนมหาศาล สื่อมวลชนกลายเป็นศูนย์รวมทางด้านการเมือง โดยมีการใช้สื่อเพื่อการรณรงค์ทางการเมืองของพรรค การหาเสียง และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป การสื่อสารมวลชนเข้าไปแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชน การรับฟังรายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนที่อยู่ในเมืองและในชนบท ทั้งเพื่อความบันเทิง การรับรู้ข่าวสารต่างๆจากภายในประเทศและต่างประเทศ ความรู้และวิทยาการต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนข้อมูลของสินค้าและบริการที่โฆษณาผ่านสื่อต่างๆ หนังสือหรือนิตยสารช่วยให้เราสามารถรับความรู้และข่าวสารทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน การเข้าชมภาพยนตร์ตามโรงภาพยนตร์ที่มีอยู่ทั่วไปเป็นการตอบสนองทางด้านความบันเทิงและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในสังคมต่างๆอย่างไม่รู้ตัว สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร? โทรศัพท์มือถือ มีธุรกิจให้บริการโหลดภาพหน้าจอมือถือเป็นภาพโป๊เปลือยของผู้หญิงโฆษณาอยู่ทั่วไป มีการพบการโหลดภาพวีดีโอสั้นๆ เช่น ภาพการร่วมเพศ โทรศัพท์รุ่นใหม่ที่มีกล้องถ่ายรูป กลายเป็นอุปกรณ์ใช้แอบถ่ายภาพโป๊ เด็กๆที่ได้รับภาพเหล่านี้ จะส่งต่อภาพเหล่านี้ให้กับเพื่อนๆ เพราะปัจจุบันมีการใช้โทรศัพท์มือถือกันมากไม่ว่าจะเป็นเด็กจนถึงผู้ใหญ่จึงมีอิทธิพลต่อสัมคมมากเหมือนกัน มีความคิดเห็นอย่างไร? กับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม สื่อมวลชนมีทั้งโทษและประโยชน์ เพราะสื่อสามารถให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ทั้งความจริงและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวสาร และความเพลิงเพลิน แต่ก็มีโทษ เช่น การแต่งกายของดาราที่แต่งกายไม่เหมาะสม การนำเสนอเรื่องที่รุนแรงต่อเด็กและเยาวชน มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร ? โดยส่วนตัวคิดว่าการจัดเรตติ้งทางทีวีเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะทำให้ผู้ชมได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์และถูกต้อง และการใช้สัญลักษณ์ในการรับชมรับฟัง การจัดรายการทีวีที่เป็นช่วงเวลาเหมาะสมกับเพศ วัย อายุ SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร ? ผลดี คือ ตรงที่ได้รับข้อมูลข่าวสารทาง sms ได้รวดเร็วและทันเหตุการณ์ข่าวสารต่างๆไม่ว่าจะเป็นข่าวทางการเมือง ข่าวอาชญากรรม ดารา โหวตแสดงความคิดเห็นในร่างรัฐธรรมนูญ ผลเสีย เสียค่าใช้จ่ายในการตอบคำถามและโหวตดารา นักร้องที่ชื่นชอบเป็นการยุ่งยงให้ประชาชนโหวตเป็นการเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมและเป็นการสินเปลือยเงินทองโดยใช่เหตุในการรับชมโทรทัศน์การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง ? “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
ลักษณะการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา1. เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง 2.เครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ3.สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้4.เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้5.อุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน 6.สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน 7. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้8. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด9. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ 10. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์11. เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อมจะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาอย่างไร? สื่อมวลชนจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ดังนี้ 1. สิ่งพิมพ์2. วิทยุ3. โทรทัศน์และวีดิทัศน์4. ภาพยนตร์5. สื่อประสมสามารถจำแนกการใช้ออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง สรุปสาระสำคัญ สื่อมวลชน หมายถึง สื่อประเภทต่างๆ เช่น วารสาร โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ เมื่อนำสื่อมวลชนมาศึกษาจึงเรียกว่า “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน การสื่อสารมวลชนจะมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว เพราะแทบจะไม่มีการป้อนกลับของข้อมูลส่งกลับไปยังผู้รับเลย แต่ในบางครั้งในการสื่อสารอาจจะมีการป้อนกลับของข้อมูลได้แต่ก็เป็นเพียงการป้อนกลับโดยอนุมาน สื่อมวลชนมีทั้งประโยชน์และโทษ ถ้าเรารู้จักใช้สื่อให้เกิดประโยชน์จะเป็นผลดีต่อการศึกษา รับความรู้ที่เป็นสาระสำคัญของแต่ละเรื่องสามารถเลือกและใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม

วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

รักแท้หรือรักเทียมดูอย่างไร

ตอนนี้ทุกคนจะต้องมาช่วยอันฟื้นฟูหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเอา วันมาฆบูชานี้เป็นตัวอย่างที่เตือนจิตสำนึก ถ้าเรามองวันมาฆบูชาแล้วนึกถึงพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาประชุมกันในวันนั้น ด้วยใจมุ่งจะไปทำงานเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน วันมาฆบูชาก็เป็นวันแห่งความรักที่แท้ แต่ความรักในที่นี้หมายถึงรักประชาชนและรักประโยชน์สุขของประชาชน คืออยากจะเห็นคนทั้งหลายเป็นสุข ความรักในความหมายที่แท้คืออยากเห็นเขาเป็นสุข เหมือนอย่างพ่อแม่รักลูก ก็คืออยากเห็นลูกเป็นสุข แต่ยังมีความรักอีกแบบหนึ่ง คือ ความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเป็นสุข อย่างนี้ไม่ใช่รักเขาจริงหรอกเป็นความรักเทียม คือราคะนั่นเอง
ความรักมี ๒ ประเภท ทุกคนต้องจำไว้ให้แม่น คือ ๑. ความรักที่อยากได้เขามาทำให้ตัวเราเป็นสุข ความรักแบบนี้ต้องได้ต้องเอา ซึ่งอาจจะทำให้คนอื่นเป็นทุกข์ หรือต้องมีการแย่งชิงกันคนทั่วไปที่มีชีวิตอยู่กับความชอบใจ ไม่ชอบใจ ยังไม่ได้ขัดเกลาจิตใจจะมีความรักประเภทนี้ก่อน แต่เมื่อความเป็นมนุษย์พัฒนาขึ้น ก็จะมีความรักที่แท้จริงในข้อต่อไปมากขึ้น คือ ๒. ความรักที่อยากเห็นเขามีความสุข พออยากเห็นเขาเป็นสุขก็อยากทำให้เขาเป็นสุข พอทำให้เขาเป็นสุขได้ฉันก็เป็นสุขด้วย เหมือนพ่อแม่อยากเห็นลูกมีความสุข พอทำให้ลูกเป็นสุขได้ ตัวเองก็เป็นสุขด้วยจึงเป็นความรักที่พร้อมจะให้และสุขด้วยกัน ความรักที่พึงประสงค์ คือความรักประเภทที่ ๒ ซึ่งเป็นความรักที่ได้แก่ ความรักที่อยากให้เขาเป็นสุข เหล่านี้เรามีวันแห่งความรัก แต่ไม่ว่าเป็นรักประเภทไหน รักจะได้เอาเมื่อตนเอง หรือรักอยากให้เขาเป็นสุขก็ไปพิจารณาให้ดี