วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประเด็นการอภิปราย "สื่อมวลชนกับการศึกษา"

บทนำ ปัจจุบันชีวิตของมนุษย์ย่อมเกี่ยวข้องกับสื่อมวลชนไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เป็นที่ยอมรับกันว่าสื่อมวลชนมีอิทธิพลเหนือจิตใจของประชาชน ซึ่งถูกกำหนดและชักจูงให้เกิดความรู้สึกหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไป ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว สื่อมวลชนเองก็จะต้องตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องกระทำและมองดูบทบาทของตนที่จะมีส่วนในการจรรโลงสังคมให้ดีขึ้น และปรับบทบาทของตนให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และช่วยเป็นกระจกสะท้อนภาพปัญหาและทางแก้ไขปัญหาให้สังคมด้วย
สื่อมวลชน หมายถึงอะไร สื่อมวลชน หมายถึง สื่อที่ใช้ในการนำข่าวสารใดๆ ไปสู่ประชาชนหรือมวลชน ประชาชนสามารถรับข่าวสารได้โดยการชมการดู หรือการอ่าน ประเภทของสื่อมวลชนได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วารสาร ภาพยนตร์ เป็นต้น สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน(Mass Media Function) หมายถึง การกระทำของสื่อมวลชนที่ได้ส่งผล กำลังส่งผลหรือที่จะส่งผลต่อชีวิตและสังคมนั่นเอง ซึ่งการกระทำนั้นอาจเป็นไปตามธรรมชาติของการสื่อสารมวลชนหรือเป็นไปตามจารีตประเพณีหรือศีลธรรมจรรยาของสังคม ตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้สำหรับอาชีพหรือวิชาชีพสื่อมวลชนนั้นๆ บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชน มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางด้านสังคมโดยรวมและบุคคลทั้งทางลบและทางบวก ยกตัวอย่างเช่น สื่อมวลชนเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจและการอุตสาหกรรมอย่างขาดไม่ได้ ช่วยสร้างงานให้กับคนงานจำนวนหลายล้านคน ในวงการสื่อเองก็เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งมีการลงทุนจำนวนมหาศาล สื่อมวลชนกลายเป็นศูนย์รวมทางด้านการเมือง โดยมีการใช้สื่อเพื่อการรณรงค์ทางการเมืองของพรรค การหาเสียง และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป การสื่อสารมวลชนเข้าไปแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของประชาชน การรับฟังรายการวิทยุ การชมรายการโทรทัศน์ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนที่อยู่ในเมืองและในชนบท ทั้งเพื่อความบันเทิง การรับรู้ข่าวสารต่างๆจากภายในประเทศและต่างประเทศ ความรู้และวิทยาการต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดจนข้อมูลของสินค้าและบริการที่โฆษณาผ่านสื่อต่างๆ หนังสือหรือนิตยสารช่วยให้เราสามารถรับความรู้และข่าวสารทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน การเข้าชมภาพยนตร์ตามโรงภาพยนตร์ที่มีอยู่ทั่วไปเป็นการตอบสนองทางด้านความบันเทิงและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในสังคมต่างๆอย่างไม่รู้ตัว สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร? โทรศัพท์มือถือ มีธุรกิจให้บริการโหลดภาพหน้าจอมือถือเป็นภาพโป๊เปลือยของผู้หญิงโฆษณาอยู่ทั่วไป มีการพบการโหลดภาพวีดีโอสั้นๆ เช่น ภาพการร่วมเพศ โทรศัพท์รุ่นใหม่ที่มีกล้องถ่ายรูป กลายเป็นอุปกรณ์ใช้แอบถ่ายภาพโป๊ เด็กๆที่ได้รับภาพเหล่านี้ จะส่งต่อภาพเหล่านี้ให้กับเพื่อนๆ เพราะปัจจุบันมีการใช้โทรศัพท์มือถือกันมากไม่ว่าจะเป็นเด็กจนถึงผู้ใหญ่จึงมีอิทธิพลต่อสัมคมมากเหมือนกัน มีความคิดเห็นอย่างไร? กับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเหมือนดาบสองคม สื่อมวลชนมีทั้งโทษและประโยชน์ เพราะสื่อสามารถให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ ทั้งความจริงและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวสาร และความเพลิงเพลิน แต่ก็มีโทษ เช่น การแต่งกายของดาราที่แต่งกายไม่เหมาะสม การนำเสนอเรื่องที่รุนแรงต่อเด็กและเยาวชน มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร ? โดยส่วนตัวคิดว่าการจัดเรตติ้งทางทีวีเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะทำให้ผู้ชมได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์และถูกต้อง และการใช้สัญลักษณ์ในการรับชมรับฟัง การจัดรายการทีวีที่เป็นช่วงเวลาเหมาะสมกับเพศ วัย อายุ SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร ? ผลดี คือ ตรงที่ได้รับข้อมูลข่าวสารทาง sms ได้รวดเร็วและทันเหตุการณ์ข่าวสารต่างๆไม่ว่าจะเป็นข่าวทางการเมือง ข่าวอาชญากรรม ดารา โหวตแสดงความคิดเห็นในร่างรัฐธรรมนูญ ผลเสีย เสียค่าใช้จ่ายในการตอบคำถามและโหวตดารา นักร้องที่ชื่นชอบเป็นการยุ่งยงให้ประชาชนโหวตเป็นการเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมและเป็นการสินเปลือยเงินทองโดยใช่เหตุในการรับชมโทรทัศน์การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง ? “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
ลักษณะการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา1. เครื่องมือในการสอน ผู้สอนสามารถนำรายการวิทยุ โทรทัศน์ มาผนวกกับการสอน และเป็นสื่อที่ให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับบทเรียนนั้นโดยตรง 2.เครื่องมือในการปฏิบัติการ โดยการใช้กล้องโทรทัศน์ช่วยในการจับภาพจากกล้องจุลทัศน์เพื่อฉายให้ผู้เรียนเห็นบนจอรับภาพ3.สื่อสอนแทนครู ในกรณีที่มีการขาดแคลนครู ก็อาจใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เพื่ออกอากาศการสอนได้4.เพื่อเสริมความรู้ เป็นการใช้รายการวิทยุ โทรทัศน์ ข่าวสารบทความเสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้5.อุปกรณ์การสอนจุลภาค/มหภาค โดยการบันทึกวีดิทัศน์การสอนหรือการปฏิบัติของผู้เรียนแต่ละคน 6.สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอนส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ตามบ้าน 7. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ การแสดง การทดลอง การบรรยายโดยวิทยากร ที่ออกอากาศทางวิทยุ สามารถบันทึกลงวีดิทัศน์ เทปบันทึกเสียง และสิ่งพิมพ์ได้8. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า โดยอาจเก็บไว้ในห้องสมุด9. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ 10. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์11. เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อมจะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาอย่างไร? สื่อมวลชนจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ดังนี้ 1. สิ่งพิมพ์2. วิทยุ3. โทรทัศน์และวีดิทัศน์4. ภาพยนตร์5. สื่อประสมสามารถจำแนกการใช้ออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ1. เพื่อการสอนโดยตรง สื่อมวลชนที่ใช้สอนโดยตรงจะต้องมีเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อตรงตามเนื้อหาบทเรียน2. เพื่อเพิ่มคุณค่าทางการสอน เป็นการนำสื่อมวลชนมาใช้ประกอบการสอนเพื่อเพิ่มความรู้แก่ผู้เรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นกว่าที่เรียนจากสื่อที่ใช้ในการสอนโดยตรงในชั้นเรียน สื่อมวลชนที่นำมาใช้จะมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับบทเรียนตามหลักสูตร แต่จะขยายวงกว้างกว่าสื่อที่นำมาสอนโดยตรง สรุปสาระสำคัญ สื่อมวลชน หมายถึง สื่อประเภทต่างๆ เช่น วารสาร โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ เมื่อนำสื่อมวลชนมาศึกษาจึงเรียกว่า “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน การสื่อสารมวลชนจะมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว เพราะแทบจะไม่มีการป้อนกลับของข้อมูลส่งกลับไปยังผู้รับเลย แต่ในบางครั้งในการสื่อสารอาจจะมีการป้อนกลับของข้อมูลได้แต่ก็เป็นเพียงการป้อนกลับโดยอนุมาน สื่อมวลชนมีทั้งประโยชน์และโทษ ถ้าเรารู้จักใช้สื่อให้เกิดประโยชน์จะเป็นผลดีต่อการศึกษา รับความรู้ที่เป็นสาระสำคัญของแต่ละเรื่องสามารถเลือกและใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น: